ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

ปั๊มลม มีกี่แบบ

ปั๊มลม (Air Compressor) หลายคนจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าปั๊มลมมีหน้าที่ในการให้ลม โดยการอัดลมให้มีแรงดันตามความต้องการนำไปใช้งาน ส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมถูกนิยมนำไปใช้กับไลน์การผลิต การลำเลียง ทั้งในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จนถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็ก รวมถึงใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น คาร์แคร์ Service Car ต่างๆ นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้กันในภาคครัวเรือนทั่วไปอีกด้วย ประเภทหรือชนิดของ ปั๊มลม (Air Compressor) มีอยู่หลายแบบด้วยกัน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 7 ประเภท ได้แก่

1.ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor หรือ Reciprocating Air Compressor)

เป็นปั๊มลมระบบลูกสูบที่มีหลักการทำงานคล้ายลูกสูบของรถยนต์ โดยมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น-ลง เพื่อทำให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกลูกสูบโดยมีวาล์วทางดูดและวาล์วทางออก ทำงานสัมพันธ์กับลูกสูบ มีทั้งแบบใช้น้ำมันหล่อลื่น และไม่ใช้น้ำมัน สำหรับความนิยมปั๊มลมประเภทลูกสูบก็เป็นปั๊มลมที่นิยมใช้กันเป็นจำนวนมาก เพราะปั๊มมีความอเนกประสงค์และราคาที่ค่อนข้างถูก แถมมีให้เลือกใช้งานหลากหลายแบรนด์อีกด้วย แต่ข้อเสียของปั๊มประเภทลูกสูบคือมีเสียงค่อนข้างดังระหว่างปั๊มทำงาน

ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทลูกสูบ

ที่มาภาพ: http://www.rungnirun.com

2.ปั๊มลมประเภทไดอะแฟรม (Diaphragm Air Compressor)

เป็นปั๊มลมที่มีหลักการทำงานคล้ายกับปั๊มลมแบบลูกสูบ แต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมมากั้นระหว่างลูกสูบกับห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน ซึ่งลมที่ได้จากปั๊มลมจะให้ลมที่สะอาดและปราศจากการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่น และยังเป็นปั๊มลมเสียงเงียบทำให้ปั๊มลมแบบไดอะแฟรมถูกนิยมนำไปใช้กันอย่างมากในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการลมที่ปราศจากสิ่งปนเปื้อน เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเคมีที่ต้องใช้ลมเพื่อส่งสารเคมีต่างๆ รวมไปถึงใช้ปั๊มลมสำหรับห้องแลป

ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?

ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทไดอะแฟรม
ที่มาภาพ: http://www.rungnirun.com

3.ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)

ส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมประเภทนี้เรามักจะพบเห็นตัวปั๊มมีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยมมีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ภายในปั๊มจะมีเพลาสกรูอยู่ 2 ตัว ในการผลิตลมจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการขับเพลา 2 ตัวให้เคลื่อนที่ โดยการเคลื่อนที่ของเพลาจะมีลักษณะหมุนเข้าหากัน เพื่อทำให้เกิดแรงอัดอากาศและสามารถผลิตลมที่มีคุณภาพออกมาได้ ปั๊มลมชนิดนี้จะไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมประเภทนี้จะสามารถทำความดันได้สูงถึง 13 บาร์
ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมแบบสกรู
ที่มาภาพ: http://www.rungnirun.com

4.ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Air Compressor/ Rotary Vane Air Compressor)

สำหรับปั๊มลมประเภทนี้ จะเหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงดันลมที่คงที่ สม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่ค่อนข้างแตกต่างจากปั๊มลมแบบอื่นๆ ปั๊มลมชนิดใบพัดเลื่อนไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิด-ปิด ทำให้หากนำไปใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด จะส่งผลให้ปั๊มไวต่อความร้อนหรือร้อนเร็วนั่นเอง ซึ่งก็ถือเป็นข้อจำกัดของปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน


ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน
ที่มาภาพ: https://blog.exair.com ที่มาภาพ: https://topcompresseur.fr

5.ปั๊มลมประเภทกังหัน (Redial and Axial flow Air Compressor)

ปั๊มลมประเภทนี้มีหลักการทำงานเหมือนกังหันลมทั่วไปที่เราพบเห็น แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญคือเรื่องของลักษณะใบพัดและอัตราการจ่ายลม เราจะรู้กันดีอยู่แล้วว่ากังหันลมมีลักษณะการทำงานแบบดูดอากาศจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งผ่านช่องของใบพัด ซึ่งปั๊มลมประเภทกังหันสามารถให้อัตราการจ่ายลมได้สูงถึง 170-2,000 ลูกบาศก์เมตร/นาที

ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทกังหัน
ที่มาภาพ: http://www.rungnirun.com

6.ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)

ปั๊มลมชนิดนี้ มีลักณะการทำงานคล้ายปั๊มลมชนิดกังหัน แต่ปั๊มลมใบพัดหมุนจะมีใบพัด 2 ใบ ที่คอยดูดอากาศจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เพื่อจ่ายอากาศสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม โรงานต่างๆ ที่ต้องใช้ลมในไลน์การผลิต ปั๊มลมประเภทนี้ค่อนข้างต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี คือจำเป็นต้องติดตั้งในพื้นที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก เป็นต้น

ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน

ที่มาภาพ: http://www.rungnirun.com

7.ปั๊มลมประเภทสกรอล (Scroll Air compressor)

ปั๊มลมประเภทสกรอลมีจุดเด่นมากๆในเรื่องของเสียงที่เงียบและการสั่นสะเทือนต่ำ ตัวปั๊มมีลักษณะ แรงม้า และอัตราการไหลคล้ายๆปั๊มลมแบบสกรู แต่ข้อที่แตกต่างกันออกไปคือเสียงที่เงียบกว่าและเป็นปั๊มลมระบบ Oil Free แบบไม่ใช้น้ำมัน จึงเป็นปั๊มที่ได้รับความนิยมกันมากสำหรับการใช้งานในห้องแลปที่ไม่ต้องการให้มีไอละอองน้ำมัน และใช้ในพื้นที่ที่ต้องการเสียงรบกวนต่ำ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องการลมที่สะอาดปราศจากน้ำมัน

ปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ตัวอย่างหลักการทำงานของปั๊มลมประเภทสกรอล
ที่มาภาพ: http://www.adv-forward.com

เป็นอย่างไรกันบ้างได้รู้ถึงของแตกต่าง ข้อดีข้อด้อย รวมไปถึงหลักการทำงานของปั๊มลม (Air Compressor) แต่ละชนิดกันไปแล้ว หากใครที่อยากรู้จักหน้าตาและความสามารถของปั๊มแต่ละแบบก็สามารถเข้าไปเปิดดูกันได้คลิ๊กลิงค์ที่แปะไว้ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

Link : https://mechanika.co.th/product-category/air-compressor/

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ