Search
Search

ปริมาณออกซิเจนในน้ำกับ การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

ปริมาณออกซิเจนในน้ำกับการเพาะเลี้ยงปลาช่อน

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน ( Cultivation of snakehead fish ) จัดเป็นการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดที่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเป็นหนึ่งในความต้องการของการนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย และสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายประเภท แต่การที่จับปลาจากแหล่งธรรมชาติเอง ก็คงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะหาได้อย่างเพียงต่อความต้องการ  การเพาะเลี้ยงเองจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งและสามารถขยายพันธุ์ให้ปลาเจริญเติบโตตามความต้องการได้ แล้วปริมาณออกซิเจนในน้ำ มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเหล่านี้ได้อย่างไร ติดตามอ่านต่อได้ในบทความนี้

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

ก่อนจะเริ่มทำการเพาะเลี้ยงปลาช่อน เราควรต้องศึกษาข้อมูลถึงลักษณะทั่วไป การแพร่ขยายพันธุ์ การคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ดีและเหมาะสม ตลอดจนวิธีการเลี้ยง ซึ่งวิธีการสามารถทำได้ตามข้อมูล ดังต่อไปนี้

วิธีการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาช่อน

 สำหรับฤดูกาลการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาช่อน จะเริ่มวางไข่ ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม แต่หากเป็นช่วงที่แม่ปลามีความพร้อมมากที่สุด จะเป็นเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ตามแหล่งน้ำนิ่ง ความลึกประมาณ 30-100 เซนติเมตร และเมื่อวางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆเพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากิน เมื่อลูกปลามีขนาด 4.5-6 เซนติเมตร จึงสามารถแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้

วิธีการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของปลาช่อน

ปริมาณออกซิเจนในน้ำกับ การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

ขอบคุณภาพ https://siamrath.co.th

 สำหรับวิธีการคัดเลือกนั้น ปลาที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800-1,000 กรัมขึ้นไปและอายุ 1 ปีขึ้นไป และการผสมพันธุ์นั้น แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ติ่งเพศมีสีแดงหรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ควรมีติ่งเพศสีชมพูเรื่อๆ ไม่มีรูปร่างอ้วนหรือผอมจนเกินไป

วิธีการเลี้ยงปลาช่อน

การเลี้ยงปลาช่อนจะเริ่มต้นตั้งแต่

1.การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา โดยวิธีการเตรียมเพื่อทำการเพาะเลี้ยงที่นิยมเลี้ยงนั้น จะเป็นการเลี้ยงในบ่อดิน เพื่อให้ได้ขนาดของปลาช่อนตามที่ต้องการ

ปริมาณออกซิเจนในน้ำกับ การเพาะเลี้ยงปลาช่อน

ขอบคุณภาพ https://greenspace.market/

2.การให้อาหารปลา ควรเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง โดยที่นิยมก็จะเป็นปลาเป็ด
3.การถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30-40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำสัปดาห์ละ 10 เซนติเมตรจนได้ระดับ 50 เซนติเมตรจึงถ่ายน้ำวันละครั้ง
5.หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน โดยใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด ไม่เช่นนั้นปลาใหญ่จะกินปลาเล็ก หลังจากอนุบาลลูกปลาในช่วง 2 เดือนแล้วต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4-5 เดือนจะให้ผลผลิต 1-2 ตัว/กิโลกรัม เช่น เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งานจะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม และเมื่อปลาโตได้ขนาดต้องการจึงจับจำหน่ายซึ่งก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1-2 วัน
6.การจับปลาขายจะ จับโดยการสูบน้ำออก 2 ใน 3 แล้วตีอวน  ซึ่งปลาช่อนเป็นปลาที่ชอบมุดโคลนเลน ดังนั้นถ้าปลา

แล้วปริมาณออกซิเจนในน้ำ มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเหล่านี้ได้อย่างไร

ในการเลี้ยงปลาช่อน ปริมาณออกซิเจนในน้ำ จัดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในการเพาะเลี้ยง เพราะส่งผลต่อเรื่องการเจริญเติบโตของปลา เพราะหากมีค่าออกซิเจนที่ต่ำ ลง จะส่งผลให้ปลาเกิดความเครียดและตายได้ ดังนั้นควรมีการเติมอากาศให้ปลา เพื่อให้ปลามีปริมาณของออกซิเจนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งเครื่องมือที่สามารถช่วยในเรื่องเหล่านี้ได้ ได้แก่ Root blower SANCO รุ่น SCB เครื่องเติมอากาศทรงนอน และ Root Blower SANCO รุ่น SCD เครื่องเติมอากาศททรงตั้ง ทีมีให้ปริมาณลมที่แรงต่อเนื่อง Ring Blower SANCO SC Series เครื่องเติมอากาศที่มีคุณสมบัติดูดเป่าอากาศได้ในเวลาเดียวกัน และ จานจ่ายอากาศ SANCO FD Series ที่สามารถผลิตฟองกาศได้ละเอียด ซึ่งเครื่องมือที่กล่าวมานั้น เหมาะแก่การนำมาใช้ในการเติมอากาศให้แก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท เมคคานิก้า จำกัด
📱 088-008-2305
☎️ 02-011-1000

mechanika

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ